เงินเกษียณประเทศไหนคุ้มค่าเหนื่อย

เนื่องจากปัญหามลภาวะ คุณภาพการใช้ชีวิตและความเป็นอยู่ ส่งผลให้คนรุ่นใหม่มองหาประเทศที่จะเรียนหรือย้ายฐิ่นฐานมากขึ้น การทำงานทั้งชีวิตรวมถึงค่าตอบแทน และชีวิตความเป็นอยู่จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่หลายๆ บ้านให้ความสำคัญ ลองคิดเล่นๆว่า หากประชากรของประเทศกำลังสูดอากาศแบบที่เป็นอยู่เป็นเวลา 40 ปี อะไรจะเกิดขึ้น เอาหละนี่อาจเป็นแค่ส่วนหนึ่ง เรามาดูกันก่อนว่า ประเทศไหนมีสวัสดิการอย่างไรบ้างในด้านค่าตอบแทนหลังจากทำงานมาทั้งชีวิต แต่ก่อนจะเข้าเรื่องต้องขอเกร่นก่อนว่า มีประเทศไหนที่เป็นประเทศที่ผู้ปกครองส่งลูกๆหลายไปเรียนบ้าง

จะมี 4 ประเทศหลักๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ สนใจส่งลูกหลานไปศึกษาต่อ คือ

  1. สหราชอาณาจักร หรือ คนไทยเรียก ประเทศอังกฤษ
  2. อเมริกา
  3. แคนนาดา
  4. สวิตเซอร์แลนด์

เนื่องจากหลายปัจจัยเช่น ความโดดเด่นทางด้านการศึกษา ความปลอดภัย หรือมีความชอบส่วนตัวของครอบครัว ชื่อเสียงของโรงเรียน การใช้ชีวิตขณะศึกษาต่างประเทศ Allumni แต่ในเกือบ 20 ปี สำหรับเราที่แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ ทางทีมงานได้เห็นน้องๆ หลายๆ คนไปทำงานและใช้ชีวิตอยู่หลายปี บางคนตัดสินใจอยู่ที่ประเทศนั้นเลย

เราเคยสงสัยไหมว่า สวัสดิการเกษียณอายุของประเทศเหล่านี้เค้าเป็นอย่างไรบ้าง หลังจากอายุ 65 ปี ในบางประเทศอาจเร็วกว่านี้ประชากรประเทศนั้นๆ ที่ทำงานมากกว่าสิบปี จะได้รับเงินบำนาญ คือเงินที่รัฐให้รายเดือนไปจนเสียชีวิต นับจำนวนได้คนที่จะแปลนถึงบั้นปลายในชีวิต แต่การทำงานและเก็บเงินเกษียณเข้าอยู่ในระบบของรัฐ

นอกจากจะเป็นความมั่นคงของประเทศนั้นๆ แล้ว ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการพิจราณาส่งลูกไปศึกษาต่อ ของบางครอบครัวอีกด้วย  ตามมาดูนะคะ

จะเป็นไปตามขั้นต่ำ ค่าเฉลี่ย บางประเทศต้องทำงานถึง 40 ปี เช่น เดนมาร์ค เนอเธอแลนด์  แต่บางประเทศเริ่มทำที่ 10 ปีก็ได้แล้วนะคะเช่น แคนาดา 

* ขึ้นอยู่กับเงินรายได้ก่อนเกษียณ ซึ่งรายได้เกษียณจะอยู่ที่ 50% ของรายได้ก่อนเกษียณ ซึ่งบางประเทศจะต้องอยู่และทำงานประเทศนั้นถึง 40 ปีถึงได้เงินเกษียณ

และในเกือบทุกประเทศที่กล่าวมา ยกเว้น ญี่ปุ่น เงินเกษียณขึ้นอยู่กับรายได้ก่อนการเกษียณซึ่งจะเป็นประมาณ 50% ตัวอย่างเช่น รายได้อยู่ที่ 300,000 บาทต่อเดือน ที่เนอเธอแลนด์ เงินเกษียณจะได้ 150,000 บาทต่อเดือน แต่จะมี cap คือไม่มากกว่า 450,835 / เดือน