3 หลักสูตร การเรียนการสอนโรงเรียนานาชาติ
การเรียนรู้แบบไร้ข้อแม้หรือข้อจำกัด ถ้าพูดถึง global education คือ นักเรียนจะเรียนที่ไหนในโลกก็มีโอกาศเข้าหรือเรียนต่อ มหาลัยตามที่นักเรียนได้ตั้งใจไว้ ไม่ว่าจะที่ใดในโลกก็ได้ไม่ว่าจะเป็นฝั่งอเมริกา อังกฤษ แคนาดา หรือ สวิสเซอร์แลนด์ หรือ ฝั่งเอเซีย ถ้ามองย้อนกลับไป 50 ปีที่แล้ว ทุกประเทศมีระบบการศึกษาเป็นของตัวเองทั้งสิ้น
แต่เดี๋ยวทุกอย่างพัฒนาไปพร้อมๆ กัน การศึกษาก็มีการพัฒนาตามไปด้วย ซึ่งเดิมแต่ก่อนประเทศใครประเทศนั้นก็เอาหลักสูตรการศึกษาของประเทศนั้นเป็นหลัก แต่ปัจจุบันเพิ่มความหลากหลาย ตอบโจทย์กับผู้เรียนในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นห้องการเรียนรู้แบบเป็นกลุ่มเน้นการเรียนที่ร่วมมือกับนักเรียนในชั้น การทดสอบจำลอง และ subject แบบรู้แนวกว้างและแนวลึก ในกลุ่ม ปฐมวัย มัธยมต้นและปลาย
ปัจจุบันไม่ว่าเราจะเรียนหลักสูตรไหนก็ตาม ลูกๆ ของเรา นักเรียนจะมีสถานศึกษารองรับในศักยภาพของนักเรียนเสมออาจมีหลายเหตุผลมากมากมายที่ผู้ปกครองอยากให้ลูกเรียนโรงเรียนานานชาติและหนึ่งในเหตุผลต้นๆ คือหลักสูตร curriculum และการเรียนเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งเป๋าหมายแต่ละครอบครัวแตกต่างกันไป บางครอบครัวต้องการปูพื้นฐานให้เร็วที่สุดก็เข้าตั้งแต่ Kindergarten เลยทีเดียว แต่เนื่องจากราคาค่าเรียนโรงเรียนนานาชาติ มีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก ตั้งแต่ปีละ 300,000-1,000,000 บาท ดังนั้นคำถามที่พบบ่อยคือ วางแผนการเงินอย่างไร ค่าเรียนที่เพิ่มขึ้นทุกปี และความแตกต่างของทั้ง 3 หลักสูตรของการเรียนการสอนนานาชาติ
เกริ่นมาซะนานขออนุญาติเข้าเรื่องเลยละกันนะคะ
IGCSE กับ IB หลักสูตรไหนดีกว่ากัน ต่างกันยังไง?
หลักสูตรการเรียนการสอนก็แบ่งใหญ่ได้เป็น 3 หลักสูตร หากไม่รวมระบบการเรียนของ French , Japan School และชาติอื่นๆ คือ
- British UK Curriculum ~ หลักสูตร สหราชอาณาจักร อังกฤษ
- American US Curriculum ~ หลักสูตร อเมริกา
- International Baccalaureate (IB)
ก่อนจะพูดถึงหลักสูตรขอพูดถึง Education with No Boundaries การเรียนแบบไร้ข้อแม้หรือข้อจำกัด ถ้าพูดถึง global education คือ นักเรียน ลูกๆ ของเราจะใช้ข้อสอบเดียวกันกับเด็กนักเรียนทั่วโลก ตามหลักสูตรที่โรงเรียนนั้นสอน เด็กที่เรียนอยู่อังกฤษ เมืองเล็กๆ หรือ โรงเรียนนานาชาติในประเทศใดประเทศหนึ่ง จะใช้ตัวชี้วัดเดียวกัน “ ไม่ว่านักเรียนจะเรียนที่ไหน หลักสูตรใด ก็สามารถไปต่อได้แบบไม่มีข้อแม้ “
หลักสูตรใช้นานานชาติ สามารถเอาผลมาสอบเข้ามหาลัยในเมืองไทยได้ไหม ?
IGCSE และ A Level , SAT, IB Diploma ผลการวัดแบบนี้ สามารถยื่นสอบได้ทั้งมหาวิทยลัยในเมืองไทยตามนี้นะคะ
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (หลักสูตรนานาชาติ)
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
- วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (หลักสูตรนานาชาติ)
- วิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ (ภายในประเทศ)
สำหรับมหาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ตัวอย่าง เอกสารสําหรับการขอใบเทียบวุฒิศึกษาใช้อะไรบ้าง
ไม่ว่านักเรียนจะเรียนระบบไหนมาในโลกก็สามารถสอบเข้า Top University เช่น Harvard, Cambridge เราสามารถใช้ผลสอบ IGCSE, GCSE, IB Diploma,และ SAT ได้ทุกตัว
แปลว่าหากนักเรียนอยู่อังกฤษอยากไปเรียน Harvard ก็ย่อมได้ หรือหากนักเรียนอยู่เมืองไทยแล้วอยู่ IB มีความฝันอยากไปเรียน Harvard ก็ย่อมได้
Harvard University in United States of America requires students to maintain a minimum IB of 40 in order to stand a good chance to get admission into Harvard University.
Expected Grades: Most successful Harvard admitted students will present very strong academic credentials — mostly or all A/A* at GCSE and AS plus predicted 3 or 4 (or sometimes more) A/A* at A-level. และแน่นอน SAT Requirements Harvard University’s SAT scores for admitted students range from 1480 – 1580, with an average score of 1530.
ส่วนตัวอย่าง ของการสมัครฝั่ง Cambridge จะเห็นว่าเปิดกว้างรับ นักเรียนจากหลายหลักสูตรมากๆ
REF
ส่วนตัวอย่าง ของการสมัครฝั่ง Harvard จะเห็นว่าเปิดกว้างรับ นักเรียนจาก IB เช่นกัน และถึงแม้ว่าการออกเกรดยังไม่สิ้นสุดก็สามารถทำได้ ตามคำแนะนำดังนี้
https://college.harvard.edu/admissions/apply/application-requirements
3 หลักสูตรและความแตกต่าง
แต่ละประเทศก็จะมีหลักสูตรการศึกษาเป็นของตัวเองแต่ที่นานาชาติหรือ glabal ใช้วัดผลคือ
- British UK Curriculum ~ หลักสูตร สหราชอาณาจักร อังกฤษ (A)
- American US Curriculum ~ หลักสูตร อเมริกา (B)
- International Baccalaureate (IB) จัดทำโดยมูลนิธิไม่แสวงหากำไรซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในกรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตั้งแต่ปี 1968
British UK Curriculum ~ หลักสูตร สหราชอาณาจักร อังกฤษ(A)
มีตัววัดผล คือ IGCSE ใน Y10-11 จากนั้น Y12-13 ก็จะเป็น A Level
IGCSE (International / General Certificate of Secondary Educational) คือ หลักสูตรการศึกษาจากประเทศอังกฤษ จัดทำโดยมหาวิทยาลัย Cambridge ประเทศอังกฤษหนึ่งในประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ยาวนาน โรงเรียนที่ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐในอังกฤษจำเป็นต้องเสนอหลักสูตรที่มีความสมดุลและเป็นฐานในวงกว้าง ซึ่งส่งเสริมการพัฒนาทางจิตวิญญาณ ศีลธรรม วัฒนธรรม จิตใจและร่างกายของนักเรียนในโรงเรียนและสังคม และเตรียมนักเรียนให้พร้อมสำหรับโอกาส ความรับผิดชอบ และประสบการณ์ชีวิตบั้นปลาย ในสหราชอาณาจักร โรงเรียนทุกแห่งยังต้องสอนการศึกษาศาสนาในทุกขั้นตอนสำคัญ และโรงเรียนมัธยมศึกษาต้องจัดให้มีการศึกษาเรื่องเพศและความสัมพันธ์
น่าสนใจมากเลยทีเดียว นอกเหนือจากวิชาบังคับแล้ว นักเรียนใน Key Stage 4 ยังมีสิทธิตามกฎหมายที่จะเรียนวิชาศิลปะได้อย่างน้อย 1 วิชา (ประกอบด้วย ศิลปะและการออกแบบ การเต้นรำ ดนตรี การถ่ายภาพ สื่อศึกษา ภาพยนตร์ศึกษา กราฟิก การละคร และ สื่อศิลปะ) อันนี้คือการเรียนที่สหราชอาณาจักร (อังกฤษ)
การเรียนภาคบังคับจะสิ้นสุดในวันศุกร์สุดท้ายของเดือนมิถุนายนสำหรับนักเรียนที่จะมีอายุครบ 16 ปีก่อนเริ่มปีการศึกษาหน้าโดยทั่วไปแล้ว นักเรียนส่วนใหญ่ในโรงเรียนของรัฐและโรงเรียนเอกชนจะสอบ GCSE ในช่วงสิ้นปีสุดท้ายของการศึกษาภาคบังคับ หากเป็นโรงเรียนนานาชาติก็จะเพิ่มคำนำหน้า International ซึ่งที่เราใช้กันว่า IGCSE ภาคเรียนจะต่างกับโรงเรียนที่ไทยเล็กน้อย
นักเรียนจะได้รับวุฒิการศึกษาเทียบเท่า ม.4 ในไทย ซึ่งจะเริ่ม Year 10 และจบ Year 11
(ดูตารางเทียบเกรด ภาพสุดท้าย)
British UK Curriculum ~ หลักสูตร สหราชอาณาจักร อังกฤษ
- เรียกชั้นเรียนเป็น year
- สำหรับการสอบ IGCSE นั้น ต้องเลือกสอบจำนวน 5 วิชา เพื่อให้ได้ IGCSE Certificate โดย IGCSE มีให้เลือกมากกว่า 70 วิชา
- A-Level มีรายวิชาให้เลือกสอบจาก 6 กลุ่มวิชา โดยผู้สอบมักจะเลือกเพียง 3-4 วิชาและสามารถเลือกวิชาที่สอบได้อย่างอิสระ
- American US Curriculum หลักสูตร อเมริกา
ในระดับ High School หรือ Grade 9 – 12 นักเรียนจะมีอายุระหว่าง 14 – 18 ปี หลักสูตรจะเข้มข้นขึ้นและมีทางเลือกหลายสาย ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงเรียน เช่น Advance Placement (AP) โรงเรียนส่วนมากจะมีการรายงานผลการเรียนทุก ๆ ไตรมาสเกรดแต่ละวิชานั้นจะถูกนำมารวมและเฉลี่ยออกมาเป็น Grade Point Average (GPA) บางโรงเรียนมีการเพิ่ม “weight” สำหรับบางวิชาขึ้นอยู่กับระดับความยากของวิชานั้นๆ เช่น เกรด A ในวิชาสังคมศาสตร์ จะได้แค่ 4 คะแนน ในขณะที่ เกรด A ในวิชา AP Algebra 2 อาจจะได้ถึง 4.5-5 คะแนน นั่นหมายความว่า นักเรียนที่ได้ A ทุกวิชา ที่ลงเรียน 8 – 10 วิชา AP อาจจะมี GPA มากกว่า 4.00 ก็เป็นได้
- เรียกชั้นเรียนเป็น Grade
- ปี 2022 ข้อสอบ AP มีรายวิชาให้เลือกสอบเกือบ 40 วิชา ตามสาขาวิชาที่สนใจ โดยประเมินผลการสอบออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ 5, 4, 3, 2 และ 1 (5 = ดีที่สุด) มหาวิทยาลัยส่วนมากรับผล AP ที่ได้ 4 และ 5 คะแนน ในขณะที่บางแห่งก็ยังรับผล AP ที่ได้ 3 คะแนนด้วยเช่นกัน
โดยการยอมรับผล หมายถึงเมื่อนักเรียนสอบ AP ได้ตามคะแนนที่กำหนด เมื่อไปเรียนในมหาวิทยาลัยจะสามารถขอ “waive” (ไม่ต้องเรียนวิชานั้นอีก) ทำให้ประหยัดค่าเทอมและอาจมีโอกาสเรียนจบได้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขนี้มักจะใช้ได้กับมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ส่วนมหาวิทยาลัยในประเทศอื่นๆ มักจะไม่ได้ยอมรับผล AP แพร่หลายนัก (บางแห่งยินดีรับผล AP ในการสมัครเรียน แต่ไม่ได้ waive วิชานั้นเมื่อเข้าไปเรียนจริงๆ ก็มี)
กลุ่มวิชาของ AP ดังนี้
- Arts เช่น Art History, Music Theory
- English เช่น English Language and Composition, English Literature and Composition
- History and Social Sciences เช่น European History, Microeconomics, Psychology
- Math and Computer Science เช่น Calculus AB, Calculus BC, Computer Science A
- Sciences เช่น Biology, Chemistry, Physics 1: Algebra-Based
- World Languages and Cultures เช่น Chinese Language and Culture
วิชาที่คนสอบมากที่สุด 5 อันดับก็คือ วิชาภาษาอังกฤษ, ประวัติศาสตร์อเมริกา, วรรณกรรมอังกฤษ, แคลคูลัส AB และการเมืองการปกครองสหรัฐอเมริกา ตามลำดับ แต่รายวิชาที่มีคนสอบผ่านมากที่สุดกลับเป็นวิชาที่ดูเหมือนจะยาก เช่น วิชาภาษาจีนและแคลคูลัส
IB (The International Baccalaureate)
หรือเข้าใจง่ายๆ แบบบูรณาการและเนื่องจากเป็นหลักสูตรที่ถูกคิดค้นมาใช้ล่าสุดตั้งแต่ปี 1968 จึงมีความทันสมัยและตอบโจทย์ทั้งผู้สอนและผู้เรียน รวมถึง communities ซึ่ง IB ให้ความสำคัญกับกิจกรรมและส่วนร่วมที่มีในสังคมมากๆ
1968: The International Baccalaureate is founded in Geneva
In the late 1960s, a group of innovative educators saw a need for an international approach to education which would equip young people with the skills, values and knowledge necessary to build a more peaceful future. “
IB Philosopy
International Baccalaureate® (IB) World Schools จะได้รับการศึกษาที่มีเอกลักษณ์ ท้าทาย และหลากหลาย รวมถึงมุ่งเน้นมีส่วนร่วมในโลกของเรา
- สนับสนุนให้คิดอย่างมีวิจารณญาณและแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน
- ขับเคลื่อนการเรียนรู้ของตนเอง
- เป็นส่วนสำคัญในโปรแกรมการศึกษาที่สามารถพาพวกเขาไปสู่มหาวิทยาลัยที่มีอันดับสูงสุดทั่วโลก
- มีความตระหนักรู้ทางวัฒนธรรมมากขึ้นผ่านการพัฒนาภาษาที่สอง
- สามารถมีส่วนร่วมกับผู้คนในโลกยุคศตวรรษที่ 20 และ beyond ที่เพิ่มมากขึ้นและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
จะแบ่งการเรียนการสอนออกเป็น
Primary Years Programme (PYP)
IB สำหรับประถม สำหรับเด็กอายุ 3 – 12 ปี
Middle Year Programme (MYP)
IB สำหรับเด็กอายุ 11-16 ปี
Diploma Programme
IB สำหรับเด็กอายุ 16-19 ปี
Primary Years Programme (PYP)
IB สำหรับประถม สำหรับเด็กอายุ 3 – 12 ปี
- IB สำหรับประถม สำหรับเด็กอายุ 3 – 12 ปี จะเลี้ยงดูและพัฒนานักเรียนรุ่นเยาว์ให้เป็นผู้มีส่วนร่วมที่กระตือรือร้นและเอาใจใส่ caring ในการเดินทางตลอดชีวิตของการเรียนรู้
- ผู้เรียน: The learner
อธิบายผลลัพธ์สำหรับนักเรียนแต่ละคนและผลลัพธ์ที่พวกเขาแสวงหาด้วยตนเอง (การเรียนรู้คืออะไร)
- ชุมชนการเรียนรู้: The learning community เน้นความสำคัญของผลลัพธ์ทางสังคมของการเรียนรู้และบทบาทของชุมชน IB ในการบรรลุผลลัพธ์เหล่านี้ ทำอะไร อย่างไรแล้วเกิด impact ต้อง communities อย่างไร
สำหรับประถมวัยถือว่าเป็นการปลูกฝังลงไปในหลักสูตรที่กำหนดไว้
โปรแกรมการสอบสวนได้รับการจัดระเบียบและกำหนดกรอบโดยธีมสหวิทยาการหกประการ:
- Who we are.
- Where we are in place and time.
- How we express ourselves.
- How the world works.
- How we organize ourselves.
- Sharing the planet.
Middle Year Programme (MYP)
IB สำหรับเด็กอายุ 11-16 ปี
นักเรียนเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อประสบการณ์การเรียนรู้มีบริบทและเชื่อมโยงกับชีวิตและประสบการณ์ของโลกที่พวกเขาเคยประสบมา นักเรียนของ MYP ใช้บริบทระดับโลกในการพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับมนุษยชาติร่วมกันและแบ่งปันการปกป้องโลก อีกหลักสูตรที่สอนและเรียนเพื่อให้เด็กๆกลับมาพัฒนาโลกที่พวกเขาอยู่
- identities and relationships
- personal and cultural expression
- orientations in space and time
- scientific and technical innovation
- fairness and development
- globalization and sustainability.
Diploma Programme
IB สำหรับเด็กอายุ 16-19 ปี
แสดงให้เห็นว่าการเลือกหลักสูตร Diploma Program (DP) มีประโยชน์มากมาย โปรแกรมนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนานักเรียนที่มีความรู้ทั้งด้านกว้างและลึกที่เป็นเลิศ พัฒนานักเรียนที่มีทุกมิติ ความรู้ที่เป็นเลศ สติปัญญา อารมณ์ และจริยธรรม
การวัดผลคือ IB Diploma
Diploma Programme (DP) ประกอบด้วย 6 กลุ่มวิชา (Studies in language and literature, Language acquisition, Individuals and societies, Sciences, Mathematics และ The arts) และ DP core
ซึ่งประกอบด้วย
- Theory of Knowledge (TOK), 3HL + 3SL
- Creativity + activity + service (CAS)
- extended essay ซึ่งนักเรียนในหลักสูตร DP จะต้องเรียนอย่างน้อย 3 วิชา (และไม่เกิน 4 วิชา)ใน Higher Level และวิชาที่เหลือใน Standard Level
นักเรียนจะเรียนบางวิชาในระดับที่สูงขึ้น (HL) higher level และบางวิชาในระดับมาตรฐาน (SL) standard level
วิชา HL และ SL ต่างกันในขอบเขตแต่วัดตามเกณฑ์เกรดเดียวกัน โดยนักเรียนคาดหวังที่จะแสดงให้เห็นถึงความรู้ ความเข้าใจ และทักษะที่มากขึ้นในระดับที่สูงกว่า นักเรียนแต่ละคนเรียนอย่างน้อยสามหรือสูงสุดสี่วิชาในระดับที่สูงกว่า และที่เหลืออยู่ในระดับมาตรฐาน วิชาระดับมาตรฐานใช้เวลาสอน 150 ชั่วโมง ระดับที่สูงขึ้นประกอบด้วยชั่วโมงการสอน 240 ชั่วโมง เหตุผลที่มหาลัยต่างๆ ยอมรับ
IB (The International Baccalaureate) แม้กระทั่งมหาลัย top ของโลก
As a result of their time in the IB, students develop:
- time management skills and a strong sense of self-motivation
- a keen interest in civic engagement
- notable academic ability
- strong research and writing skills
- critical thinking abilities
- an international outlook.
ความแตกต่าง ของ IB vs ICGSE และ USA
ถ้าจะเอามาพูดสั้นๆ หมายถึง จงวิเคราะห์ความแตกต่างของระบบการเมือง และวัฒนธรรมของอเมริกา อังกฤษ และยุโรปนั่นแหละค่ะ ^^
IB หลักสูตรบูรณาการ ก่อตั้งที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เรียนกว้างหลายวิชา รอบรู้ เน้นคะแนนสอบ รู้หลายหลายวิชาน้องๆได้มีส่วนร่วมในโลกใบนี้ เน้นกิจกรรมที่สามารถช่วยเหลือสังคมได้ในทุกมิติ มีระบบสารสอบของตัวเอง
เป็นหลักสูตรที่ออกแบบมาใช้สำหรับ Global Education ซึ่งองค์รวมเดียวกันที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งอาจจะต้องให้ credit ประเทศที่ออกแบบหลักสูตร
ในขณะที่ UK ขอแทนด้วย A Level เน้นรู้ลึก แคบลงเมื่อเข้าสู่ Year 12-13 2 ปีสุดท้ายก่อนเข้ามหาลัย เน้นที่ชอบที่ใช่ที่ passion จริงๆ โดยใน year 8 จะมี career test เรียนหลากหลายวิชาใน Year 9-10 จากนั้นค่อย narrow หรือบีบแคบความสนใจ และทักษะแบบรู้ลึกรู้จริงใน A Level ลองดูภาพตารางประกอบจะเข้าใจมากขึ้นนะคะ
ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาคือวัฒนธรรมของต้นสังกัดประเทศนั้นในการออกแบบหลักสูตรการศึกษาที่ใช้กันมายาวนานทั้งนี้ผู้ปกครองต้องการทราบความแตกต่างมันคืออะไรกันแน่
แต่ถ้าเราได้ไปลองเรียนรู้ในแต่ละหลักสูตร แม้จะมีความแตกต่าง แต่ก็ไม่ได้แตกต่างในการเรียนมากนัก และทุกหลักสูตรก็มุ่งตรงไปที่มหาลัยได้ทุกหลักสูตรซึ่งหากเรียนจบหลักสูตร IGCSE แล้ว สามารถไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นได้ เช่น AS, A Level,
A level จะเรียนสองส่วนคือ AS จากนั้นไป A2 รวมกันเป็น A Level
IB Diploma เพื่อศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยที่ประเทศอังกฤษ และมหาลัยชื่อดังฝั่งอเมริกา แม้แต่เมืองไทย พูดได้เลยว่าสามารถใช้ได้ ทั่วโลก
โดยปกติในประเทศไทยนั้น การสอบ IGCSE จะอยู่ในระบบการศึกษาของโรงเรียนนานาชาติที่ใช้ระบบการเรียนการสอนแบบอังกฤษ (UK) แต่น้องๆ ที่ไม่ได้เรียนในระบบ เช่นหากน้องๆ เรียนโรงเรียนไทย ก็สามารถสมัครสอบ IGCSE ได้โดยตรงกับทาง British Council Thailand ได้เช่นกัน จากนั้น เมื่อจบหลักสูตร IGCSE ก็ค่อยต่อ A Level
ค่าสมัครสอบ IGCSE
ค่าสมัครสอบโดยทั่วไปราคา 6,000-9,500 บาทต่อวิชา (แล้วแต่วิชา) ในกรณีที่สมัครสอบล่าช้ากว่ากำหนด ผู้สอบจะต้องชำระค่าลงทะเบียนล่าช้า (Late Entry) ด้วย (อ้างอิงจากราคาของ British Council)
สถานที่สอบ IGCSE
- โรงเรียนนานาชาติระบบการศึกษาอังกฤษที่น้องๆ เรียนอยู่
- ถ้าสมัครสอบกับ British Council ให้ติดตามประกาศจากทาง British Council อีกครั้ง ทั้งนี้ปัจจุบันใช้สนามสอบที่ชั้น 8 อาคารเวฟเพลส ถนนเพลินจิต
- ถ้าสมัครสอบกับ Harrow International School สอบที่ Harrow International School
สำหรับการสอบ IGCSE นั้น ต้องเลือกสอบจำนวน 5 วิชา เพื่อให้ได้ IGCSE Certificate โดย IGCSE มีให้เลือกมากกว่า 70 วิชา และสอบได้สูงสุดถึง 15 วิชา น้องๆ สามารถเลือกสอบได้ตาม passion ความชอบ ความถนัดและความสามารถ
ซึ่งเนื้อหาการสอบในแต่ละวิชาก็จะมีระดับความยากง่ายต่าง กัน ทำให้การสอบ IGCSE นั้นมี 2 ระดับ ดังนี้
IGCSE จะแบ่งออก 2 ระดับ ประกอบไปด้วย
- Core (การสอบพื้นฐาน) จะใช้เวลาและจำนวนข้อน้อยกว่า ถือเป็นการวัดมาตรฐานอย่างง่าย ซึ่งเกรดที่ได้จะอยู่เพียง C, D, E, F, G เท่านั้น
- Extended (การสอบขั้นสูง) กรณีสอบระดับนี้ผู้สอบจะได้เกรดสูงกว่าการสอบ Core แบ่งออกเป็น A*, A, B, C, D, E, F, G
ในส่วนของรายวิชาที่ใช้สอบมีมากกว่า 70 วิชาเลยทีเดียว แต่สามารถแยกออกได้เป็น 6 กลุ่มหลัก ซึ่งตรงนี้สามารถเลือกตามแนวทางที่ตนเองสนใจเพื่อโอกาสทำคะแนนให้สูงตามเป้าหมายที่คาดหวังเอาไว้ หรือบางคณะ บางมหาวิทยาลัยที่จะเข้าเรียนก็มีการกำหนดมาชัดเจนว่าต้องสอบวิชาใดบ้างนั่นเอง
- กลุ่มวิชาทักษะภาษาอังกฤษ English Language and Literature มีให้เลือกกว่า 12 subject
- กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ (Sciences) เช่น Agriculture, Biology, Environmental Management, Marine Scienceม Chemistry, Physics, Physics Science – Combined เป็นต้น
- กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ (Mathematics) เช่น Mathematics, Cambridge International Mathematics, Additional Mathematics เป็นต้น
- กลุ่มวิชาทักษะวิชาชีพ (Creative and Professional) เช่น Accounting, Business Studies, Enterprise, Physical Education, Drama, Music, Art and Design, Design & Technology, Information & Communication, Computer Science, Food & Nutrition เป็นต้น
- กลุ่มวิชาภาษาศาสตร์ (Language) เช่น Thai, English (First or Second Language), Chinese, Japanese, Indonesian, Russian, Italian, Korean, Arabic, Turkish, German, Greek, Spanish, French, Hindi เป็นต้น
- กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (Humanities and Social Sciences) เช่น Economics, Sociology, Geography, Religious Studies, History, Business Studies, Travel and Tourism เป็นต้น
ซึ่งการติดสอบ ICGSE มีหลายสถาบันมากๆ รวมถึงสามารถเข้าไปเรียนรู้ด้วยตัวเองที่ https://www.savemyexams.com/ มีทั้งแบบฟรี และรายเดือน มี pass paper ไปลองทำ
วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม โรงเรียนนานาชาติ
ผู้ปกครองบางท่านเคยแสดงความคิดเห็นว่า ลูกไม่โดดเด่นอะไรเลย หรือ แนวที่ว่ายังหาตัวเองไม่เจอ อยากให้ลูกได้มาเรียนสบายๆ กดดันน้อย หากจะว่าไปแล้ว คุณครูที่โรงเรียนนานาชาติ กดดันน้อยกว่าครูหลักสูตรไทยแน่นอนอยู่แล้ว เนื่องจาก จำนวนนักเรียนต่อห้อง วัฒนธรรมการเรียน บรรยากาศในการเรียน การที่ต้องดูแลสอนเด็กห้องละ 10 คนย่อมดูแลได้ทั่วถึงกว่าห้องละ 40 คนแน่นอน
วัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันกับเพื่อนต่างชาติในชั้นเรียนก็เป็นสิ่งสำคัญ ทำให้เด็กๆ เรียนรู้วัฒนธรรมต่างชาติที่ไม่เหมือนโรงเรียนคนไทยล้วน ซึ่งเด็กๆ จะค่อยๆ เรียนรู้แบบไม่ทันรู้ตัว ซึ่งส่งผลดีกับการทำงานแบบ Global community ในอนาคตได้อย่างดีเยี่ยม
facilities ในโลกเรียนเช่น สระว่ายน้ำขนาดใหญ่ สนามฟุตบอลขนาดใหญ่ หลายสนาม playground เด็กเล็กที่ออกแบบมาอย่างดี รวมถึงเนื้อที่ที่ไม่แออัด แล้ว facilities มีผลอย่างไร สมมุติว่า เรามีลูกที่ชอบฟุตบอลมากๆ แต่โรงเรียนมีขนาดเล็กไม่มีสนาม football ขนาดใหญ่หลายสนาม หาก facility น้อย พื้นที่น้อย สำหรับเด็กที่ชอบกีฬา
การเลือกโรงเรียนที่ Facilities ก็เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญ