แนวทางการส่งลูกน้อยเข้าเรียนอินเตอร์แต่เล็ก

แนวทางการส่งลูกน้อยเข้าเรียนอินเตอร์แต่เล็ก คุณพ่อคุณแม่จะกังวลมากว่าน้องๆจะเขียนภาษาไทยได้หรือไม่หรือจะสื่อสารภาษาไทยได้ระดับไหนความกังวลใจของคุณแม่ท่านหนึ่งนะคะสวัสดีค่ะ..🙏🏻 ตอนนี้คิดไม่ตกเลยค่ะ วอนผู้รู้มาชี้แนะแนวทางค่ะตอนนี้ลูกสาว 1.6 ปี อยากให้ลูกได้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทยไปพร้อมๆกัน ไม่อยากให้อ่อนอันไหนเลยค่ะควรเป็นแผนไหนดีคะ

แผน A

  1. อนุบาลไทย100%
  2. ประถม1-6 อินเตอร์ Eng100%
  3. มัธยม อินเตอร์ 100%

แผน B

  1. อนุบาล อินเตอร์ 100%
  2. ประถม1-6 อินเตอร์ 100%
  3. มัธยม ไทย EP 50/50

แม่จะคอยพูดไทยและสอนไทยน้องตลอดและพาเรียนพิเศษไทยค่ะ(คุณแม่เป็นครู)ปลายทาง มหาวิทยาลัย ไทย หลักสูตรไทย ค่ะแต่มีความจำเป็นต้องให้น้องได้ภาษาอังกฤษอย่างมากค่ะ ** เกี่ยวกับธุรกิจที่บ้านวอนผู้เคยมีประสบการณ์ชี้นำค่ะจำเป็นต้องสมัครเรียนช่วงชั้น Pre-school ปลายปีนี้แล้วค่ะ 🙏🏻 ขอบคุณมากค่ะ

  1. Budget plan ก่อนอื่นนะคะคุณแม่คุณแม่มี budget ในการเรียนอินเตอร์แพลนเอาไว้ไหมคะอันนี้อันดับหนึ่งก่อนนะคะถ้าแพลนเอาไว้ไม่มีปัญหาค่ะเพราะว่าถ้าเด็กเรียนอินเตอร์แล้วนะคะภาษาไทยอ่ะค่ะยังไงก็ได้น้อยมากเพราะว่าการเรียนคาบวิชาเด็กไทยจะเรียนภาษาไทยอาทิตย์ละ 4-5 คาบในขณะที่เด็กอินเตอร์เรียนเพียงคาบเดียว แล้วก็สิ่งแวดล้อมไม่มีเป็นภาษาไทยเลย
  2. ถ้าข้อ 1 ผ่านมาแล้วนะคะคุณแม่ต้องการให้น้องเก่งทั้งคู่ แนะนำแบบนี้ค่ะ ให้เรียนฝั่งไทยไปก่อนจนอ่านเขียนได้ประมาณป 4 นะคะจากนั้น ขึ้นป 4 หรือป 4 เทอม 2 เข้าอินเตอร์ load เลยค่ะ

นำค่าเรียนโรงเรียนอินเตอร์มาให้นะคะ แต่ราคาค่าเรียนขึ้นอยู่กับโรงเรียน อาจราคาลงจากนี้ถึงครึ่งนึงแล้วแต่โรงเรียนด้วยค่ะ

นำมาจากประสบการณ์จริงมานะคะเพราะว่าลูกคนเล็กเรียนอินเตอร์มาตลอดอ่านไทยไม่ได้เลยค่ะแม้จะจ้างครูภาษาไทยประกบยังไงก็ไม่รอด พยายามอยู่ 1 ปี และไม่ใช่เฉพาะลูกตัวเองนะคะเพื่อนลูกและเพื่อนๆที่เรียนอินเตอร์ก็ไม่รอดเหมือนกันค่ะภาษาไทย พูดได้แต่เขียนไม่ได้ ไม่ต้องพูดถึงแป้น keyboard นะคะ

ส่วนลูกคนโตเรียนระบบไทยจนถึงป 4 จากนั้นเข้าอินเตอร์ค่ะ อ่านเขียนได้แล้ว เช่นอ่านหนังสือ อ่านป้ายถนน ป้ายทางถามว่าใช้ภาษาทางการภาษาไทยได้ไหมก็ตอบเลยว่าไม่ได้ค่ะ

ถามว่าแบบที่ 2 เด็กอาจจะยังไม่เก่งภาษาอังกฤษมากใน 2 ปีแรกหากย้ายไป inter แต่ไปต่อได้แน่นอนแต่ก็อ่านภาษาไทยได้ อันนี้สำคัญนะคะ

การวางแผนว่าจะเรียนอะไรตั้งแต่ต้นนะคะจะเป็นรากฐานให้น้องในการเข้ามหาวิทยาลัยในภายภาคหน้า อันนี้ต้องวางแผนด้วยกันนิดนึงว่าอยากให้เขาอยู่ประเทศไทยหรือว่าเข้ามหาวิทยาลัยที่ไทยหรือมหาวิทยาลัยที่ต่างประเทศด้วยนะคะระบบการเรียนหรือหลักสูตร EP (English Programme) กับ หลักสูตรการเรียนนานาชาติ ต่างกันมากนะคะ รวมถึงแนวทางข้อสอบ

✅️ ขอเพิ่มเติม ถ้าคุณแม่เลือกแบบ 2 นะคะ น้องเรียน อินเตอร์มาแล้วเป็นถนนที่กำลังจะไปถนนไปสู่ ICGSE , A level สมมุติน้องอยู่ใน (ระบบ) การเรียนอินเตอร์ของประเทศอังกฤษนะคะ แล้วอยู่ๆ หักมุม เปลี่ยนเส้นทางไปเรียน EP เหมือนกันกำลังขึ้นมอเตอร์เวย์ไปชลบุรี แต่ขอลงกลางคัน (ลูกๆจะงงหนักว่าปล่อยให้ลงตรงไหน) ดังนั้นต้องกลับไปที่ข้อ 1 อีกทีนะคะ ลูกเรียนอยู่ Year 10 มุมมองจาก ผปค year 10 นะคะ

การพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก 4-11 ขวบ

จากองค์กร American Speech-Language-Hearing Association

การพัฒนาภาษาของเด็ก 4-5 -ขวบ

เมื่ออายุ 4 ขวบ ลูกของคุณจะพูดได้อย่างราบรื่น ไม่พูดเสียง คำ หรือวลีซ้ำเป็นส่วนใหญ่ เมื่ออายุ 4 ปี ลูกของคุณจะพูดเพื่อให้ผู้คนเข้าใจสิ่งที่พวกเขาพูดเป็นส่วนใหญ่ เด็กอาจทำผิดพลาดกับเสียงที่จะพัฒนาในภายหลัง เช่น l, j, r, sh, ch, s, v, z และ th

การพัฒนาภาษาของเด็ก 5- 6 ขวบ

เมื่ออายุ 5-6 ปี เด็กๆ เข้าใจว่าคำเดี่ยวๆ อาจมีความหมายที่แตกต่างกัน ดังนั้นพวกเขาจึงเริ่มพึ่งพาบริบทของคำมากขึ้นเพื่อที่จะรู้ว่าคำนั้นหมายถึงอะไร

การพัฒนาภาษาของเด็ก 6 ขวบ

เด็กส่วนใหญ่มีคำศัพท์จำนวนมาก ประมาณ 13,000 คำ เมื่ออายุ 6 ขวบ แต่พวกเขามีความสามารถในการเข้าใจโครงสร้างภาษาที่ซับซ้อนอย่างจำกัด ตั้งแต่อายุ 6 ถึง 10 ปี เด็กๆ จะเริ่มคิดอย่างช้าๆ ด้วยวิธีที่ซับซ้อนมากขึ้น การเติบโตนี้ช่วยให้พวกเขาเข้าใจและใช้ความแตกต่างและความละเอียดอ่อนของภาษาดังนั้นในช่วงอายุ 4-6 ยังไม่ต้องกังวลมากเรื่องภาษานะคะ น้องๆกำลังเรียนรู้คำศัพท์อยู่ค่ะ

การพัฒนาภาษาของเด็ก 7-11 ขวบ

เป็นแนวทางในการพัฒนาคำพูดและภาษาของเด็กในช่วงอายุ 7 ถึง 11 ปี การพูดและทำความเข้าใจคำศัพท์เป็นกระบวนการที่ค่อยเป็นค่อยไป เด็กพัฒนาทักษะในอัตราที่แตกต่างกัน แต่เมื่อเกิน 8 ปี โดยปกติแล้ว เด็กจะใช้ภาษาในการทำนายและสรุปผลใช้ประโยคที่ยาวและซับซ้อน ทำความเข้าใจมุมมองอื่นๆ และแสดงให้เห็นว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยเข้าใจคำเปรียบเทียบเช่น ‘มันเร็วกว่าเมื่อวาน’สนทนาต่อไปโดยให้เหตุผลและอธิบายตัวเลือกต่างๆเริ่มการสนทนากับผู้ใหญ่และเด็กที่พวกเขาไม่รู้จักทำความเข้าใจและใช้ประโยคที่ไม่โต้ตอบซึ่งการเรียงลำดับคำยังสร้างความสับสนให้กับเด็กเล็ก เช่น “โจรถูกตำรวจไล่ล่า”